La Pavoni งานไม้ ต้มใหญ่พิเศษ สีทองสลับสี พวกหัวนกสีทอง
หมวดหมู่ : เครื่องชง 1 หัวชง ,  เครื่องกาแฟ ,  เครื่อง ขนาดเล็ก ,  La Pavoni , 
แบรนด์ : La pavoni
Share
LA PAVONI : Professional Wood Editon
THE LEGEND OF LA PAVONI SINCE 1905
รุ่น Expo2015 กำเนิดขึ้นในปี 2015 ในงาน Expo ที่มิลาน อิตาลี
ศูนย์จำหน่ายเครื่องชงกาแฟ La Pavoni นำเข้าจากอิตาลี
บริษัทเป็นตัวแทนนำเข้าเครื่องชงกาแฟ La Pavoni อย่างเป็นทางการตั้งแต่ 2012
ความเป็นมาของ Lever Machine
เครื่องชงกาแฟ รุ่น Europiccola ถือว่าเป็นเครื่องชงกาแฟรุ่นที่ได้รับความนิยมสูงสุดของ La Pavoni มีการพัฒนามาทั้งหมด 3 Generation โดยรุ่นล่าสุดจะเรียกว่า รุ่น Post Milenium หรือรุ่นหลังปี 2005 โดยรุ่นล่าสุด กระบอกหัวชงจะใหญ่กว่าเดิมเพราะมีการเพิ่มพลาสติกทนความร้อนครอบเข้าไปด้านในเพื่อทำให้อุณหภูมิในการสกัดกาแฟคงที่มากยิ่งขึ้น และยังมีการเพิ่มตัวตัดอุณหภูมิที่ควบคุมความร้อนผ่านแรงดันไอน้ำ ทำให้ผู้ชำนาญสามารถเข้าไปปรับแรงดันไอน้ำเพื่อเพิ่มหรือลดความร้อนของน้ำกาแฟได้ และในปี 1976 -1977 เครื่องชงกาแฟขนาดหม้อต้ม 1.6 ลิตรก็ได้กำเนิดขึ้น มันมีชื่อว่า รุ่น Professional โดยมันมีขนาดหม้อต้มที่ใหญ่ขึ้นเป็น 2 เท่า รองรับการชงกาแฟต่อเนื่องเพิ่มได้มากกว่าเดิม แรงสตีมไอน้ำก็แรงกว่าและยาวนานกว่าเดิม
ต่อมาในปี 2015 ทาง La Pavoni ก็ได้นำเสนอเครื่องชงกาแฟที่เป็นการผสมผสานเครื่องชงกาแฟ กลุ่ม Stadivari ที่หัวหม้อต้มเป็นทรงไข่ และฐานเครื่องทรงกลมมาเติมแต่งด้วยงานชุบโคลมเมี่ยมสีทอง กับตัวนก ทำให้ได้เครื่องชงกาแฟ รุ่นที่ได้รับความนิยมในช่วงเวลาดังกล่าว นัั้นคือรุ่น EXPO2015 โดยจุดแตกต่างระหว่างรุ่น Profesional กับรุ่นนี้จะเป็นที่หัวชงของรุ่น Expo จะเป็นทรงไข่ เครื่อง Expo2015 นอกจากจะสวยงามแล้วตัวเครื่องชงยังแถมด้ามชงกาแฟ แบบ Bottomless สีทองมาให้เลยในกล่อง
ข้อมูลทางเทคนิค
Model | Height (cm) | Width (cm) | Depth (cm) | Weight (kg/lbs) | Voltage (VAC) | Standard Watts (W) | Coffee Boiler (L) | Steam Time (Min) |
1 Group | 32 | 20 | 29 | 5.5 | 220-240V | 950 (220-240V) | 1.6 | 20 |
ส่วนประกอบต่างๆ
สิ่งที่ควรทราบ (เครื่องไม่ได้เหมาะกับทุกคน)
คำเตือน
ความแตกต่างของรุ่น
Model รุ่นเครื่อง | Europiccola | Professional | Expo2015 | Esprerto Abile |
ขนาดหม้อต้ม (ลิตร) | 0.8 | 1.6 | 1.6 | 1.6 |
เกจแรงดันหม้อต้ม | ไม่มี | มี | มี | มี |
วัสดุวาล์วปิดฝา | พลาสติกดำ | ไม้ | ไม้ | ไม้ |
วัสดุด้ามชง | พลาสติกดำ | ไม้ | ไม้ | ไม้ |
วัสดุที่จับต่างๆ | พลาสติกดำ | ไม้ | ไม้ | ไม้ |
ชงต่อคาปูชิโน่ | มี | มี | มี | มี |
ฝาถาดน้ำทิ้ง | พลาสติก | สแตนเลส | สแตนเลส | สแตนเลส |
ด้ามชง 2 ช็อต | 1 อัน | 1 อัน | 1 อันสีทอง | 1 อันสีเงิน |
ด้ามชง Bottomless | ไม่มี | ไม่มี | 1 อันสีทอง | 1 อันสีเงิน |
โลโก้นก | ไม่มี | ไม่มี | นกสีทอง | นกสีเงิน |
เกจแรงดันการสกัด | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | มี |
แทมเปอร์โลหะ | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | มี |
สติ๊กเกอร์องศา | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | มี |
ตะแกรงพิเศษ IMS | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | มี |
ฐานด้านล่าง | ดำ | ดำ | ดำ | แดง |
คำถามที่พบบ่อยการแก้ปัญหาพื้นฐาน
เทคนิคขั้นสูง
ปริมาณน้ำกาแฟในการโยก
การโยกหัวชงขึ้นจะส่งให้น้ำร้อนที่หม้อต้มเดินทางเข้าสู่หัวชงกาแฟด้วยแรงดันประมาณ 0.7-1.2 บาร์ (แล้วแต่การตั้งค่า) เมื่อแรงดันที่หัวชงกาแฟมีระดับแรงดัน สูงเท่ากันกับแรงดันหม้อต้ม เท่ากับว่าน้ำที่หัวชงกาแฟนั้นเต็มแล้ว การโยกด้ามชงเพื่อส่งน้ำกาแฟที่หัวชงไปผ่านผงกาแฟในด้ามชงนั้นจะมีปริมาณน้ำประมาณ 45 -50 ซีซี โดยถ้าในด้ามชงกาแฟมีผงกาแฟอยู่ปริมาณน้ำกาแฟที่สกัดได้จริงจะไม่เท่ากับปริมาณน้ำที่หัวชงเพราะผงกาแฟได้ซับน้ำเอาไว้
จากการทดสอบ หากเราใส่กาแฟลงไปด้ามชงประมาณ 18 กรัม และเริ่มโยกก้านลง เมื่อน้ำหยดแรกออกจากก้านชง เราจะได้ปริมาณน้ำกาแฟประมาณ 28-30 ซีซี แต่ถ้าเราให้น้ำกาแฟไหลลงมานิดหน่อยเราจะสามารถสกัดปริมาณน้ำกาแฟได้มากกว่านั้น หรือถ้าต้องการน้ำกาแฟมากกว่านั้นคือการ ลดปริมาณผงกาแฟลงไปอีกจาก 18 กรัม เหลือ 14-15 กรัม
เวลาในการโยกก้านขึ้นและพัก
เมื่อทำการยกก้านโยกขึ้นน้ำร้อนจากภายในหม้อต้มใช้เวลาเดินทางมาที่หัวชงกาแฟภายเวลา 5-8 วินาทีก็จะเต็มหัวหม้อต้ม ตอนนี้เราจะตัดสินใจว่าเราจะโยกก้านชงลงเมื่อไร โดยระยะเวลาที่นานจะเพิ่มความเข้มข้นให้กับกาแฟ แต่ถ้านานเกินไปจะทำให้กาแฟสกัดออกมาจนรสชาติกาแฟติดขมกระด้าง เราแนะนำว่าถ้าเน้นชงกาแฟเอสเพรสโซ่ร้อน และไม่อยากให้กาแฟขม ควรโยกก้านลงตั้งแต่วินาทีที่ 8-10 ถ้าต้องการเข้มขมก็อาจจะนานกว่านั้นเช่น 11-15 วินาที
รสชาติกาแฟที่ได้จากการโยก
- โยกเบาช่วงแรกและกดแรงขึ้นเรื่อยๆ ผลลัพธ์จะทำให้กาแฟมีบอดี้(เข้มข้น) ที่สูง ความเปรี้ยวจะน้อย ความขมจะเยอะ
- โยกแรงไปหาเบา กาแฟจะบอดี้น้อยลง แต่รสชาติกาแฟจะชัดเจนมากขึ้น ความเปรี้ยวกาแฟจะมากขึ้น และเป็นมาตรฐานที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้ทานกาแฟในสไตล์นี้
- ใช้เวลาโยกนาน กาแฟจะเปรี้ยวน้อยลง ความเข้มข้นมากขึ้น ความขมมากขึ้น เหมาะสำหรับการชงกาแฟใส่นม
- ใช้เวลาโยกสั้น กาแฟจะมีรสชาติที่ชัด ความเปรี้ยวก็จะชัด กลิ่นก็จะชัด
กาแฟคั่วอ่อน
- กาแฟสกัดได้ยาก การโยกก้านขึ้นและรอควรจะนานกว่ากาแฟคั่วเข้ม เพราะเราต้องการให้น้ำร้อนซึมเข้าไปในกาแฟเพื่อสกัดรสชาติออกมาได้มากกว่า
- ผงกาแฟที่บดออกจากเครื่องบดในกาแฟคั่วอ่อนจะมีความละเอียดมากกว่ากาแฟคั่วเข้ม เพราะมีช่องว่างภายในเมล็ดน้อยกว่า ทำให้เบอร์บดของกาแฟคั่วอ่อนจะตั้งไว้ละเอียดกว่ากาแฟคั่วเข้ม
แรงดันค่าโรงงานตั้งค่า 0.7-0.9 บาร์
เป็นค่าที่ทำให้เราชงกาแฟ เอสเพรสโซ่ได้รสชาติดีเยี่ยม แต่ก็แรกมาด้วยความร้อนที่ต่ำกว่า คือ อุณหภูมิน้ำร้อนในหม้อต้มจะอยู่ที่ประมาณ 115-117 องศา สกัดกาแฟที่อุณหภูมิ ค่าเฉลี่ย 88-92 องศา
แรงดันที่เหมาะสำหรับคนชอบทานกาแฟใส่นม
แรงดันที่เหมาะสมควรอยุ่ที่ 1.0-1.2 บาร์ ยิ่งสูงน้ำกาแฟก็จะยิ่งร้อน แรงสตีมก็จะแรงและแห้งไม่มีน้ำปนออกมา รสชาติกาแฟใส่นมจะมีรสชาติที่ดีเยี่ยม