Europiccola Lusso เครื่องชงกาแฟเอสเพรสโซ่

คุณสมบัติสินค้า:

La Pavoni เครื่องชงกาแฟ อิตาลี กำเนิดในปี 1955

แบรนด์ : La pavoni

Share


LA PAVONI : EUROPICCOLA
THE LEGEND OF LA PAVONI SINCE 1905

ศูนย์จำหน่ายเครื่องชงกาแฟ La Pavoni  นำเข้าจากอิตาลี
บริษัทเป็นตัวแทนนำเข้าเครื่องชงกาแฟ La Pavoni อย่างเป็นทางการตั้งแต่ 2012


ความเป็นมาของ Lever  Machine
La Pavoni เป็นแบรนด์เครื่องชงกาแฟเก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของโลก ( Bezzera เป็นอันดับ 1) โดยผลิตเครื่องชงกาแฟเอสเพรสโซ่รุ่นแรกๆออกมาตั้งแต่ปี 1905 ทำให้ทุกคนได้รู้จักกับเมนูกาแฟอย่างเอสเพรสโซ่ เมื่อทานกาแฟในร้านกาแฟ
     ในปี 1961 เครื่องชงกาแฟสำหรับใช้ในบ้าน โดยใช้ไฟฟ้ารุ่นแรกของโลกก็ได้กำเนิดขึ้น โดยมันเป็นเครื่องชงที่สามารถใช้ชงกาแฟเอสเพรสโซ่และเมนูต่างๆไม่ต่างอะไรกับร้านกาแฟใช้กัน  มันคือ La Pavoni : Europiccola


     เครื่องชงกาแฟ รุ่น Europiccola ถือว่าเป็นเครื่องชงกาแฟรุ่นที่ได้รับความนิยมสูงสุดของ La Pavoni มีการพัฒนามาทั้งหมด 3 Generation  โดยรุ่นล่าสุดจะเรียกว่า รุ่น Post Milenium หรือรุ่นหลังปี 2005  โดยรุ่นล่าสุด กระบอกหัวชงจะใหญ่กว่าเดิมเพราะมีการเพิ่มพลาสติกทนความร้อนครอบเข้าไปด้านในเพื่อทำให้อุณหภูมิในการสกัดกาแฟคงที่มากยิ่งขึ้น และยังมีการเพิ่มตัวตัดอุณหภูมิที่ควบคุมความร้อนผ่านแรงดันไอน้ำ ทำให้ผู้ชำนาญสามารถเข้าไปปรับแรงดันไอน้ำเพื่อเพิ่มหรือลดความร้อนของน้ำกาแฟได้

ข้อมูลทางเทคนิค

ModelHeight (cm)Width (cm)Depth (cm)Weight (kg/lbs)Voltage (VAC)Standard Watts (W)Coffee Boiler (L)Steam Time (Min)
1 Group3220 295.5220-240V 
950 (220-240V) 
0.8 10


ส่วนประกอบต่างๆ

  • หม้อต้มกาแฟ ขนาด 0.8 ลิตร
  • ตัวทำความร้อน
  • ก้านสตีมฟองนม คาปูชิโน่ แบบ 3 รู พร้อมวาล์วเปิด/ปิด
  • หัวชงกาแฟ ขนาดด้าม 51 มม.
  • ระบบเซฟตี้ ป้องกันการระเบิด
  • ด้ามชงกาแฟพร้อมตะแกรงชงกาแฟ ขนาด 1 ช็อต และ 2 ช็อต

     
    เครื่องชงกาแฟ Pavoni ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยต่อผู้บริโภคโดยสถาบันรับรองของประเทศเยอรมัน


    อุปกรณ์ที่ได้มาในกล่อง (ตามรูป)


วิธีใช้งานเครื่อง (ดูคลิปด้านล่าง ในคลิปเป็นรุ่น Professsional)

 

 

  1.  อย่าพึ่งเสียบปลั๊กไฟ ให้ทำการเติมน้ำก่อน โดยหมุนวาล์วด้านเครื่องชงกาแฟ เพื่อเติมน้ำลงไป โดยควรเติมน้ำในปริมาณไม่เกิน เส้นกำกับปริมาณน้ำ (ตามรูป) ปิดวาล์วกลับที่เดิม
  2. เสียบปลั๊กไฟพร้อมเปิดสวิตซ์ด้านข้าง โดยไฟจะติดขึ้นแสดงว่าเครื่องกำลังต้มน้ำให้ร้อนอยู่ โดยปกติจะใช้เวลาในการต้มน้ำ ประมาณ 4-6 นาที
  3. เมื่อไฟดับลง เครื่องก็จะพร้อมใช้งานชงกาแฟได้ทันที โดยถ้าหม้อต้มขนาด 0.8 ลิตร จะรองรับการชงกาแฟต่อเนื่องได้ที่ประมาณ 6-8 แก้ว และถ้าเป็นหม้อต้มขนาด 1.6 ลิตร จะรองรับการชงกาแฟต่อเนื่องได้ 12-16 แก้ว
  4. ปริมาณผงกาแฟที่ใช้ในการชงกาแฟ ในตะแกรง 1 ช็อตจะประมาณ 8 กรัม และ สำหรับ ตะแกรง 2 ช็อต จะใส่ได้ประมาณ 16-19 กรัม
  5. การใส่ด้ามชงกาแฟจะใส่จากทางด้านหน้าตรงและบิดด้ามไปทางซ้ายมือ
  6. การสกัดกาแฟ จะใช้วิธีการยกก้านชงกาแฟขึ้นด้านบน และรอสักพักเพื่อให้น้ำร้อนด้านเข้าไปที่หัวชงกาแฟ และทำการโยกก้านชงกาแฟลงมา น้ำกาแฟก็จะไหลลงไปในแก้วกาแฟ
  7. ปริมาณน้ำกาแฟ ที่สกัดได้ต่อการโยก 1 ครั้งจะประมาณ 20-40 ซีซี
  8. เครื่องสามารถสตีมฟองนมได้ทันทีไม่ต้องรอเปลี่ยนระบบการทำงาน โดยถ้าใส่น้ำเต็มปกติ สามารถสตีมฟองนมด้วยไอน้ำต่อเนื่องได้ยาวนานถึง 10 นาที
  9. ค่าแรงดันมาตรฐานของหม้อต้มที่เครื่องชงตั้งค่าปกติมาจะอยู่ที่ 0.7-0.8 บาร์ เพื่อรองรับรสชาติกาแฟเอสเพรสโซ่ที่เหมาะสมที่สุด


สิ่งที่ควรทราบ (เครื่องไม่ได้เหมาะกับทุกคน)

  • ต้องมีเครื่องบดกาแฟที่ดี  การจะชงกาแฟเอสเพรสโซ่ให้ได้จากเครื่องรุ่นนี้เครื่องบดกาแฟจะต้องบดกาแฟ ให้ละเอียดในระดับเอสเพรสโซ่เท่านั้น เครื่องบดมือส่วนใหญ่ทำไม่ได้ ต้องเป็นเครื่องบดมือสำหรับเอสเพรสโซ่เท่านั้น เครื่องบดไฟฟ้าแบบใบมีดก็ไม่สามารถบดละเอียดได้แบบที่เครื่องรุ่นนี้ต้องการดังนั้นควรมีเครื่องบดกาแฟที่ดี จึงจะดึงรสชาติออกจากกาแฟด้วยเครื่องชงกาแฟรุ่นได้
  • ความร้อน เครื่องชงกาแฟเป็นงานประกอบมือ และใช้วัสดุที่เป็นโลหะ ทำให้เวลาใช้งานตัวเครื่องจะร้อนมาก
  • ความละเอียดกาแฟ ด้วยแรงดันการสกัดที่เกิดจากแรงกด และขนาดด้ามชง 51 มม. ทำให้เนื้อผงกาแฟบด จะต้องละเอียดเป็นพิเศษกว่าเครื่องชงกาแฟ ที่ใช้ตามบ้านทั่วไป
  • ความเข้าใจ เครื่องชงกาแฟแม้เป็นเครื่องสำหรับใช้งานในบ้าน แต่ก็ต้องเข้าใจหลักการทำงานของเครื่องอย่างถูกต้องเพื่อให้สามารถใช้เครื่องชงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ความต้องการ การชงกาแฟเอสเพรสโซ่ให้ได้รสชาติที่ดีที่สุดนั้นต้องเข้าใจไม่ใช่แค่ตัวเครื่องแต่ต้องเข้าใจเมล็ดกาแฟ และระดับการคั่วกาแฟด้วย โดยรสชาติกาแฟที่ได้จากเครื่องชงนั้นจะมีความพิเศษและแตกต่างกันอันด้วยเทคนิคในการโยกก้าน คือ เวลา และ แรงในการกด รวมถึงปริมาณผงกาแฟ ความละเอียด และปริมาณที่สกัด ล้วนส่งผลต่อรสชาติกาแฟทั้งสิ้น

 

คำเตือน

  • ระวังไอน้ำ เมื่อชงกาแฟต่อเนื่องและน้ำในหม้อต้มใกล้หมด การเติมน้ำลงไป จะต้องปิดสวิตซ์และทำการไล่ไอน้ำจากการสตีมออกจนหมดก่อน จึงทำการเปิดฝาหม้อต้ม อย่างไรก็ตามที่ฝาปิดวาล์วหม้อต้มจะมีรูสำหรับระบายไอน้ำ หากผู้ใช้งานลืมไล่ไอน้ำออกก่อน ไอน้ำจะรั่วผ่านรูเล็กๆที่วาล์วเปิดปิด
  • ระวังการถอดด้ามชง การถอดด้ามชงกาแฟหลังจากที่สกัดกาแฟเสร็จแล้ว ต้องค่อยๆ ถอดด้ามชงออกอย่างช้าๆ เพราะเครื่องชงจะมีแรงดันตกค้างที่หัวชงอยู่ ทำให้ถ้ารีบถอดด้ามอย่างรวดเร็วจะทำให้ แรงดันกระจายผงกาแฟเปื้อนได้

 

ความแตกต่างของรุ่น

Model รุ่นเครื่อง

Europiccola

Professional

Expo2015

Esprerto Abile

ขนาดหม้อต้ม (ลิตร)0.81.61.61.6
เกจแรงดันหม้อต้มไม่มีมีมีมี
วัสดุวาล์วปิดฝาพลาสติกดำไม้ไม้ไม้
วัสดุด้ามชงพลาสติกดำไม้ไม้ไม้
วัสดุที่จับต่างๆพลาสติกดำไม้ไม้ไม้
ชุดต่อคาปูชิโน่มีมีมีมี
ฝาถาดน้ำทิ้งพลาสติกสแตนเลสสแตนเลสสแตนเลส
ด้ามชง 2 ช็อต1 อัน1 อัน1 อันสีทอง1 อันสีเงิน
ด้ามชง Bottomlessไม่มีไม่มี1 อันสีทอง1 อันสีเงิน
โลโก้นกไม่มีไม่มีนกสีทองนกสีเงิน
เกจแรงดันการสกัดไม่มีไม่มีไม่มีมี
แทมเปอร์โลหะไม่มีไม่มีไม่มีมี
สติ๊กเกอร์องศาไม่มีไม่มีไม่มีมี
ตะแกรงพิเศษ IMSไม่มีไม่มีไม่มีมี
ฐานด้านล่างดำดำดำแดง



คำถามที่พบบ่อยการแก้ปัญหาพื้นฐาน  (อ่านเงื่อนไขการรับประกัน)

  1. เครื่องชงกาแฟรุ่นไหนเหมาะสำหรับเรา
    ตอบ ถ้าชงกาแฟวันละ 1 -2 แก้ว แนะนำรุ่น Europiccola ถ้าอยากเน้นชงขายได้ด้วย แนะนำรุ่น Professional เพราะมีหม้อต้มที่ใหญ่กว่า ส่วนรุ่น Expo 2015 จะไม่ได้เป็นแค่เครื่องชงกาแฟแต่เป็นของเฟอร์นิเจอร์ประดับบ้านด้วย ส่วนรุ่น Esperto Abile คือ เครื่องรุ่น Top ที่ให้ชุดแต่งมาพร้อมทั้งหมดแล้วไม่ต้องไปหาเพิ่มเติม

  2. เปิดเครื่องทั้งวันได้ไหม
    ตอบ เปิดได้แต่ไม่แนะนำ เครื่องชงสามารถเปิดทิ้งไว้ได้ทั้งวัน แต่ต้องเข้าใจเรื่องหลักของน้ำร้อน เมื่อเวลาเราต้มน้ำร้อนไปนานๆ น้ำร้อนจะรสชาติกระด้างขึ้นทำให้รสชาติกาแฟไม่ดีเท่าเดิม ดังนั้นถ้าชงกาแฟโดยเน้นคุณภาพควรเปิดเครื่องชงกาแฟเฉพาะตอนที่จะใช้งานเท่านั้น ระยะเวลาในการรอต้มน้ำครั้งแรกประมาณ 3 นาที แต่ถ้าน้ำอุ่นอยุ่จะใช้เวลา 2-3 นาที

  3. อะไหล่มีไหม
    ตอบ เครื่องทำงานโดยเป็นพื้นฐานแบบทาง Machanic มากกว่า Electronicทำให้ สามารถใช้งานได้นาน โดยเครื่องชงกาแฟ รุ่นที่เก่าในระดับ 50-60 ปีก่อน ก็ยังมีคนนำมาใช้งานอยู่ ณ ปัจจุบัน อะไหล่ส่วนใหญ่ที่เสียจะเป็นประเก็นยาง ซึ่งทางบริษัทฯ มีเซอร์วิส

  4. ซื้อเครื่องชงกาแฟแล้ว อุปกรณ์อื่นๆที่ควรมีไว้ใช้งานมีอะไรบ้าง
    ตอบ  เครื่องบดกาแฟ , ตราชั่งดิจิตอล ทรงเตี้ย , แทมเปอร์ 51 มม. , ฝาครอบโดสกาแฟ , ตัวเกลี่ยกาแฟ ,แท่นวางด้ามชง, ด้ามชง Bottomless, ชุดเกจวัดแรงดันการสกัด

  5. ใครไม่เหมาะสำหรับเครื่องชงกาแฟนี้
    ตอบ คนที่ต้องการชงกาแฟแบบง่ายๆ สะดวกสบาย , คนที่ทานกาแฟเย็นใส่นมข้นหวานเป็นหลัก 

  6. ใครเหมาะสำหรับเครื่องชงกาแฟนี้
    ตอบ คนที่มีความหลงใหลในการชงกาแฟ  และรักการดื่มกาแฟเอสเพรสโซ่เป็นจิตใจ 

  7. ตะแกรง 2 ช็อต ใส่กาแฟได้สูงสุดกี่กรัม และได้น้ำกาแฟสูงสุดกี่ซีซี
    ตอบ ใส่ได้สูงสุด 18 กรัม น้ำกาแฟ ที่เหมาะสมจะประมาณ 30 ซีซี แต่ขึ้นอยู่กับระดับการคั่วกาแฟด้วย กาแฟคั่วอ่อนจะได้น้ำกาแฟมากกว่ากาแฟคั่วเข้ม

เทคนิคขั้นสูง

ปริมาณน้ำกาแฟในการโยก
การโยกหัวชงขึ้นจะส่งให้น้ำร้อนที่หม้อต้มเดินทางเข้าสู่หัวชงกาแฟด้วยแรงดันประมาณ 0.7-1.2 บาร์ (แล้วแต่การตั้งค่า) เมื่อแรงดันที่หัวชงกาแฟมีระดับแรงดัน สูงเท่ากันกับแรงดันหม้อต้ม  เท่ากับว่าน้ำที่หัวชงกาแฟนั้นเต็มแล้ว  การโยกด้ามชงเพื่อส่งน้ำกาแฟที่หัวชงไปผ่านผงกาแฟในด้ามชงนั้นจะมีปริมาณน้ำประมาณ 45 -50 ซีซี โดยถ้าในด้ามชงกาแฟมีผงกาแฟอยู่ปริมาณน้ำกาแฟที่สกัดได้จริงจะไม่เท่ากับปริมาณน้ำที่หัวชงเพราะผงกาแฟได้ซับน้ำเอาไว้
จากการทดสอบ หากเราใส่กาแฟลงไปด้ามชงประมาณ 18 กรัม และเริ่มโยกก้านลง เมื่อน้ำหยดแรกออกจากก้านชง เราจะได้ปริมาณน้ำกาแฟประมาณ 28-30 ซีซี  แต่ถ้าเราให้น้ำกาแฟไหลลงมานิดหน่อยเราจะสามารถสกัดปริมาณน้ำกาแฟได้มากกว่านั้น หรือถ้าต้องการน้ำกาแฟมากกว่านั้นคือการ ลดปริมาณผงกาแฟลงไปอีกจาก 18 กรัม เหลือ 14-15 กรัม

เวลาในการโยกก้านขึ้นและพัก
เมื่อทำการยกก้านโยกขึ้นน้ำร้อนจากภายในหม้อต้มใช้เวลาเดินทางมาที่หัวชงกาแฟภายเวลา 5-8 วินาทีก็จะเต็มหัวหม้อต้ม ตอนนี้เราจะตัดสินใจว่าเราจะโยกก้านชงลงเมื่อไร โดยระยะเวลาที่นานจะเพิ่มความเข้มข้นให้กับกาแฟ แต่ถ้านานเกินไปจะทำให้กาแฟสกัดออกมาจนรสชาติกาแฟติดขมกระด้าง เราแนะนำว่าถ้าเน้นชงกาแฟเอสเพรสโซ่ร้อน และไม่อยากให้กาแฟขม ควรโยกก้านลงตั้งแต่วินาทีที่ 8-10 ถ้าต้องการเข้มขมก็อาจจะนานกว่านั้นเช่น 11-15 วินาที


รสชาติกาแฟที่ได้จากการโยก
- โยกเบาช่วงแรกและกดแรงขึ้นเรื่อยๆ  ผลลัพธ์จะทำให้กาแฟมีบอดี้(เข้มข้น) ที่สูง ความเปรี้ยวจะน้อย ความขมจะเยอะ
- โยกแรงไปหาเบา กาแฟจะบอดี้น้อยลง แต่รสชาติกาแฟจะชัดเจนมากขึ้น ความเปรี้ยวกาแฟจะมากขึ้น และเป็นมาตรฐานที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้ทานกาแฟในสไตล์นี้
- ใช้เวลาโยกนาน กาแฟจะเปรี้ยวน้อยลง ความเข้มข้นมากขึ้น ความขมมากขึ้น เหมาะสำหรับการชงกาแฟใส่นม
- ใช้เวลาโยกสั้น กาแฟจะมีรสชาติที่ชัด ความเปรี้ยวก็จะชัด กลิ่นก็จะชัด

กาแฟคั่วอ่อน
- กาแฟสกัดได้ยาก การโยกก้านขึ้นและรอควรจะนานกว่ากาแฟคั่วเข้ม เพราะเราต้องการให้น้ำร้อนซึมเข้าไปในกาแฟเพื่อสกัดรสชาติออกมาได้มากกว่า
- ผงกาแฟที่บดออกจากเครื่องบดในกาแฟคั่วอ่อนจะมีความละเอียดมากกว่ากาแฟคั่วเข้ม เพราะมีช่องว่างภายในเมล็ดน้อยกว่า ทำให้เบอร์บดของกาแฟคั่วอ่อนจะตั้งไว้ละเอียดกว่ากาแฟคั่วเข้ม

แรงดันค่าโรงงานตั้งค่า 0.7-0.9 บาร์
เป็นค่าที่ทำให้เราชงกาแฟ เอสเพรสโซ่ได้รสชาติดีเยี่ยม แต่ก็แรกมาด้วยความร้อนที่ต่ำกว่า คือ อุณหภูมิน้ำร้อนในหม้อต้มจะอยู่ที่ประมาณ  115-117 องศา สกัดกาแฟที่อุณหภูมิ ค่าเฉลี่ย 88-92 องศา 

แรงดันที่เหมาะสำหรับคนชอบทานกาแฟใส่นม
แรงดันที่เหมาะสมควรอยุ่ที่ 1.0-1.2 บาร์ ยิ่งสูงน้ำกาแฟก็จะยิ่งร้อน แรงสตีมก็จะแรงและแห้งไม่มีน้ำปนออกมา รสชาติกาแฟใส่นมจะมีรสชาติที่ดีเยี่ยม


    

    

 



เครื่องชงกาแฟแบบโยกจะทำให้เราสามารถควบคุมอัตราความเร็วของกาแฟในการสกัดได้ ทำให้เราสามารถควบคุมรสชาติกาแฟได้



เมื่อทำการเปิดเครื่องชงเพื่อต้มน้ำร้อน ความร้อนจะเริ่มจากทางด้านหลัง


เมื่อทำการโยกก้านขึ้นด้านบนน้ำร้อนด้านหลังจากเดินทางมาที่หัวชงและผสมกับน้ำค้างที่หัวชงเพื่อให้ได้ความร้อนที่เหมาะสำหรับการสกัดเอสเพรสโซ่



ด้วยก้านโยกทำให้เราสามารถ ส่งน้ำร้อนพุ่งเข้าสูงผงกาแฟในด้ามชง และเกิดแรงดันเบาๆ ที่ 1 บาร์ เพื่อให้ผงกาแฟได้ซึมซับน้ำร้อนเข้าไปอย่างช้าๆ และเมื่อเรากดด้ามชงกาแฟลงมาก็จะทำให้เกิดแรงดัน 8-9 บาร์เพื่ออัดผ่านกาแฟที่แรงดัน ขนาด 9 บาร์น้ำจะแรงจนมีคุณสมบัติเหมือนของแข็ง และสกัดเอาของในกาแฟลงออกมาโดยแรงดันจะลดลงเรื่อยจนถึง 0 บาร์ โดยความลับของมันก็คือ ที่แรงดันช่วงหลังเบาลง จะลดอัตราการสกัดกาแฟลงทำให้ส่วนที่ไม่พึงประสงค์ในกาแฟนั้นไม่ถูกสกัดออกมาด้วย




เลือกกาแฟให้เหมาะสำหรับเรา กาแฟที่ใช้ควรเป็นกาแฟคั่วระดับ ปานกลางถึงระดับเข้ม และการกดด้วยความแรงที่เหมาะสมทำให้เราสามารถสกัดรสชาติกาแฟเอสเพรสโซ่ในสไตล์อิตาเลี่ยนแท้ๆ


ก้านสตีมไอน้ำที่สามารถพร้อมใช้งานได้เลยไม่ต้องรอเปลี่ยนระบบ


ด้วยแรงดันไอน้ำที่สูงสามารถทำให้เราทำกาแฟคาปูชิโน่ได้ง่ายและมีรสชาติที่ดีมาก


การแก้ปัญหาเบื้องต้นจากการชงกาแฟ

อาการ : โยกกาแฟแล้วน้ำกาแฟไม่ไหลออกมา
สักเกตุต่ำแหน่งก้านโยกว่าตกลงมาด้านล่างหรือยัง ถ้ายังแสดงว่ามีแรงดันอยู่ อย่าเพิ่งถอดด้ามออกจากเครื่อง  เราอาจจะรอสักประมาณ 3-5 นาที เพื่อที่จะให้แรงดันที่หัวชงค่อยๆไล่ออกมาโดยสังเกตจาก ด้ามชงที่ตกลงมา หรือถ้าต้องการรีบถอดด้ามชงให้ทำการค่อยถอดด้ามออกจากเครื่องอย่างช้าโดยถ้ามีเสียงไอน้ำรั่วออกมาให้รอก่อน จนเสียงไอน้ำเงียบแล้วค่อยๆถอดด้ามออกต่อและรอต่อ
สาเหตุที่ 1 : กาแฟละเอียดเกินไป น้ำจึงไม่สามารถผ่านผงกาแฟได้
วิธีแก้ไข : ปรับระดับเบอร์บดกาแฟให้หยาบขึ้น
สาเหตุที่ 2 : ใส่กาแฟมากเกินไป น้ำจึงไม่สามารถผ่านผงกาแฟได้
วิธีแก้ไข : ควบคุมการใส่ปริมาณกาแฟให้เท่ากันทุกครั้ง
สาเหตุที่ 3 : น้ำหมด
วิธีแก้ไข : ปิดเครื่องแล้วเติมน้ำใหม่
สาเหตุที่ 4 : น้ำใกล้หมด ปริมาณน้ำจึงไม่พอต่อการชงกาแฟ
วิธีแก้ไข : ปิดเครื่องแล้วเติมน้ำใหม่

อาการ : โยกกาแฟแล้วน้ำกาแฟเร็วมาก
สาเหตุที่ 1 : กาแฟละเอียดหยาบไป
วิธีแก้ไข : ปรับระดับเบอร์บดกาแฟให้ละเอียดขึ้น
สาเหตุที่ 2 : ใส่กาแฟน้อยเกินไป
วิธีแก้ไข : ควบคุมการใส่ปริมาณกาแฟให้เท่ากันทุกครั้ง

อาการ : สกัดกาแฟออกมาไม่มีฟองครีม่า กาแฟไม่หอมน้ำกาแฟไหลเร็ว
สาเหตุที่ 1 : กาแฟเก่า หรือ เปิดถุงนานเกิน 7 วันแล้ว หรือ บดกาแฟทิ้งไว้นานเกินไป
วิธีแก้ไข : เปลี่ยนกาแฟ
สาเหตุที่ 2 : กาแฟบดหยาบเกินไป หรือ เครื่องบดกาแฟไม่เหมาะสม
วิธีแก้ไข : เปลี่ยนระดับการบดกาแฟให้ละเอียดมากขึ้น หรือเลือกหาเครื่องบดที่เหมาะสม
สาเหตุที่ 3 : ใส่ผงกาแฟในด้ามชงน้อยเกินไป
วิธีแก้ไข : เพิ่มปริมาณกาแฟ โดยตะแกรง 1 ช็อต ต้องใส่กาแฟในด้ามชง 9-10 กรัม ส่วนตะแกรง 2 ช็อตควรใส่กาแฟในด้ามชง 15-18 กรัม

อาการ : น้ำกาแฟไม่ร้อนแค่อุ่นๆ
สาเหตุที่ 1 : เครื่องชงกาแฟยังไม่พร้อมชง
วิธีแก้ไข : รอให้สัญญาไฟต้มดับก่อน
สาเหตุที่ 2 : ด้ามชงกาแฟที่ใส่กาแฟเย็นไป
วิธีแก้ไข : ควรอุ่นด้ามชงกาแฟด้วยน้ำร้อนก่อน
สาเหตุที่ 3 : ตะกันเกาะคดลวดทำให้ความร้อนไม่เต็มประสิทธิภาพ
วิธีแก้ไข : ส่งศุนย์บริการซ่อม เอ็นแอลคอฟฟี่ 
สาเหตุที่ 4 : เซนเซอร์ความร้อนไม่ทำงาน
วิธีแก้ไข : ส่งศูนย์บริการซ่อม เอ็นแอลคอฟฟี่

อาการ : น้ำกาแฟร้อนเกินไป
สาเหตุที่ 1 : เซนเซอร์ตัดความร้อนไม่ทำงาน
วิธีแก้ไข : ส่งศูนย์บริการซ่อม เอ็นแอลคอฟฟี่

อาการ : ไอน้ำรั่วออกจากเซฟตี้วาล์ว
สาเหตุที่ 1 : วาล์วเซฟตี้เสื่อมสภาพ
วิธีแก้ไข : ส่งศูนย์บริการซ่อม เอ็นแอลคอฟฟี่
สาเหตุที่ 2 : วาล์วเซฟตี้มีตะกันไปเกาะเนื่องจากน้ำที่ใช้มีค่าความกระด้างสูงไป
วิธีแก้ไข : ส่งศูนย์บริการซ่อม เอ็นแอลคอฟฟี่
สาเหตุที่ 3 : วาล์วเซฟตี้เสื่อมสภาพตั้งไม่ได้มาตรฐาน
วิธีแก้ไข : ส่งศูนย์บริการซ่อม เอ็นแอลคอฟฟี่

อาการ : เครื่องร้อนปกติแต่เปิดสตีมไอน้ำไม่ได้
สาเหตุที่ 1 : วาล์วสตีมเสื่อมสภาพ
วิธีแก้ไข : ส่งศูนย์บริการซ่อม เอ็นแอลคอฟฟี่
สาเหตุที่ 2 : รูปลายท่อสตีมตันอันเนื่องจากคราบนม
วิธีแก้ไข : ปิดเครื่องให้เย็นแล้วหาเข้มไปเจาะที่รูเดิม
สาเหตุที่ 3 : น้ำในหม้อต้มหมด หรือใกล้หมด
วิธีแก้ไข : ปิดเครื่องแล้วทำการเติมน้ำ

อาการ : เครื่องร้อนปกติสตีมไอน้ำมีแต่น้ำร้อนปนออกมาเยอะ
สาเหตุที่ 1 : เติมน้ำในหม้อต้มมากเกินไป
วิธีแก้ไข : ลดปริมาณน้ำในหม้อต้มให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม


อาการ : เปิดเครื่องไม่ได้
สาเหตุที่ 1 : ไม่ได้เสียบปลั๊กไฟ
วิธีแก้ไข : ทำการเสียบปลั๊กไฟ
สาเหตุที่ 2 : สวิตซ์เปิดปิดเสีย
วิธีแก้ไข : ส่งศูนย์บริการซ่อม เอ็นแอลคอฟฟี่

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้